วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

IUPAC

การเรียกชื่อระบบ IUPAC

เป็นการเรียกชื่อตามระบบสากล มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้เรียกชื่อสารอินทรีย์ได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่ หรือที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบง่าย และที่ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้จะทำให้ทราบชนิดและลักษณะโครงสร้างของสาร เพราะหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างสาร

การเรียกชื่อระบบ IUPAC เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1892 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยการประชุมร่วมกันของนักเคมีเพื่อวางกฎเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ ในครั้งแรกเรียกระบบการเรียกชื่อนี้ว่าระบบเจนีวา ต่อมาสหพันธ์นักเคมีระหว่างประเทศ (International Union of Chemistry) ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น ในปี ค.ศ. 1931 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUC และเมื่อมีการค้นพบสารใหม่เพิ่มมากขึ้นจึงได้ปรับปรุงการเรียกชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1957 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUPAC ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

หลักเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC โดยทั่ว ๆ ไปมีหลักดังนี้


1. ชื่อโครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจึงเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด
2.คำลงท้าย เป็นส่วนที่เต็มท้ายชื่อโครงสร้างหลัก เพื่อแสดงว่าสารอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด เป็นสารประกอบประเภทอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชันในโมเลกุล
3.คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก เพื่อจะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอมหรือกลุ่มอะตอมใดบ้างมาต่ออย่างละกี่หมู่และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาต่อให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด (ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของ C ในโครงสร้างหลัก)

ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมซ้ำ ๆ กันมาเกาะให้บอกจำนวนโดยใช้ภาษากรีก เช่น di = 2 กลุ่ม, tri = 3 กลุ่ม, tetra = 4 กลุ่ม, penta = 5 กลุ่ม

ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมหลายชนิดมาเกาะ ให้เรียกชื่อเรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง

2-methyl- หมายถึง มี methyl group มาต่อที่ C ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก

3-hydroxy- หมายถึง มี OH มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 ในโครงสร้างหลัก

3-ethyl-2-methyl หมายถึง มี ethyl มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 และ methyl group มาต่อที่ C

ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น